รายละเอียดไทเทเนียมจะกำหนดคุณสมบัติของ ไทเทเนียมบริสุทธิ์ และไทเทเนียมอัลลอยด์
ไทเทเนียมอัลลอยด์จำนวนมากถูกกำหนดรายละเอียดโดย American Society for Testing and Materials (ASTM), รายละเอียดไทเทเนียมที่ใช้ทางการบิน (SAE-AMS), รายละเอียดไทเทเนียมอัลลอยด์สำหรับทางทหาร (MIL-T) และรายละเอียดไทเทเนียมที่พัฒนาโดย American Society of Mechanical Engineers (ASME) ระบบรายละเอียดไทเทเนียมที่หลากหลายของสหรัฐอเมริกามีความกลมกลืนกับ Unified Numbering System (UNS) ซึ่งทำหน้าที่กำหนดโลหะ และตัวอักษร รวมถึงหมายเลข5หลัก ไทเทเนียม และไทเทเนียมอัลลอยด์ของ UNS ประเภท R5 เช่น UNS R50400
รายละเอียดไทเทเนียมที่เป็นสากล และมีความสำคัญประกอบด้วย ISO, Euronorm, รัสเซีย GOST และญี่ปุ่น JIS แต่อย่างไรก็ตามมาตรฐานเหล่านี้ก็ยังมีความเหลื่อมล้ำกันอยู่ทำให้ไม่สามารถใช้แทนกันได้ สมาคมไทเทเนียมของญี่ปุ่นได้มีความพยายามที่จะบรรลุเป้าหมายในการเป็นตัวแทนของระบบมาตรฐานไทเทเนียมของโลก โดยการสร้างระบบรายละเอียดไทเทเนียมที่เป็นหนึ่งเดียวขึ้นมา
ความท้าทายแรกของรายละเอียดไทเทเนียม ไม่ใช่การขาดแคลนข้อมูลมาตรฐานที่กำหนดโดยองค์กรพัฒนามาตรฐาน (SDOs) แต่คือการเพิ่มรายละเอียด บริษัทผลิตเครื่องบินได้ทำการพัฒนารายละเอียดไทเทเนียมให้มีความสอดคล้องกับผลิตภัณฑ์ ซึ่งบริษัทผลิตเครื่องบินแต่ละบริษัทก็จะมีรายละเอียดไทเทเนียมอัลลอยด์ของตัวเองที่ต้องการความจำเพาะเจาะจงสำหรับใช้ในการผลิต ดังนั้นรายละเอียดไทเทเนียมจึงมีอยู่หลายรูปแบบที่ถูกใช้ในงานที่เจาะจงเฉพาะกลุ่มการใช้งาน ซึ่งอาจจะไม่เป็นที่ยอมรับในระดับโลก
ฐานข้อมูลของ Total Materia และรวดเร็วในการเข้าถึงคุณ สมบัติทางกล, ส่วนประกอบทางเคมี, ตารางตัวอ้างอิงโยง และอื่นๆ ที่ได้เตรียมไว้ให้กับผู้ใช้งานด้วยข้อมูลจำนวนมากอย่างที่ไม่เคยมีมาก่อน คลิกที่ปุ่มด้านล่างเพื่อทดลองใช้งานฐานข้อมูลของ Total Materia